จุดเริ่มต้นการมีผู้เล่นสำรอง
ไม่มีการระบุไว้ชัดเจนว่า ใช้งานผู้เล่นสำรองของวงการลูกหนังโลก เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่มีการระบุไว้ตามประวัติศาสตร์ว่า การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของังกฤษ ได้เริ่มต้นใช้กฏการเปลี่ยนตัวสำรองได้ครั้งแ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1965
สำหรับการเปลี่ยนตัวครั้งประวัติศาสตร์ ดังกล่าว เป็นฝั่งชาร์ลตัน แอธเลติก เปลี่ยนตัว คีธ พีค็อก ถูกส่งลงมาแทน ไมค์ โรส ในเกมที่สนาม เบิร์นเดน ปาร์ค แต่การเปลี่ยนตัวครั้งนั้น ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับเกมมากนัก เนื่องจาก ชาร์ลตัน เป็นฝ่ายแพ้ให้กับ ทร็อตเตอร์ 2-4
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรองในเกมฟุตบอล ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเรื่องผลการแข่งขัน โดยในเกมลีกอังกฤษ วันถัดมา เป็นเกมระหว่าง บาร์โรว กับ เร็กซ์แฮม และ บ็อบบี้ น็อกซ์ ถือเป็นผู้เล่นสำรองคนแรกในประวัติศาสที่ถูกเปลี่ยนตัวลงมาแล้วช่วยยิงประตู ด้วยการยิงจุดโทษพาทีม บาร์โรว์ คว้าชัยชนะไปได้
การใช้งานผู้เล่นสำรองในเกมฟุตบอล มีมาอย่างแพร่หลาย กระทั่งปี 1987 กฏการเปลี่ยนตัวถูกเปลี่ยนเล็กน้อย โดยระบุว่า แต่ละทีมจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 2 คน และไม่สามารถเปลี่ยนเพิ่มได้อีก ยกเว้นว่ามีกรณีผู้เล่นบาดเจ็บ แต่จากนั้นในปี 1992 ก็แก้กฏกันอีกครั้ง โดยให้เปลี่ยนผู้เล่นได้ทุกกรณีแค่ 3 คนเท่านั้น และสามารถใส่ชื่อผู้เล่นสำรองได้แค่ 5 คนต่อเกม
บทบาทของผู้เล่นสำรองยุคปัจจุบัน
ช่วงหลังต้องยอมรับว่า ผู้เล่นสำรองค่อนข้างมีผลมากกับเกมฟุตบอล โดยบ่อยครั้งที่การแก้เกมของผู้จัดการทีมจากการเปลี่ยนตัวสำรอง ช่วยลงมาเปลี่ยนผลการแข่งขันจากแพ้ให้กลายเป็นเสมอ หรือชนะได้ เราจึงมีคำเรียกผู้เล่นสำรองเหล่านั้นว่า ซูเปอร์ซับ “super-sub” โดยตัวอย่างเช่น ทีม แมนฯ ยูไนเต็ด ในยุคที่มี เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เป็นผู้จัดการทีม เขาเคยเปลี่ยน โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ ลงมาและช่วยยิงประตูสำคัญพาทีมคว้าแชมป์ได้มากมาย
ขณะเดียวกันล่าสุดในฤดูกาล 2019-20 ฟุตบอลลีกทั่วโลก เกิดปัญหาต้องพักการแข่งขัน เนื่องจากการระบาดของไวรัส โควิด-19 จนเกือบต้องยกเลิกการแข่งขัน แต่ก็สามารถกลับมาแข่งต่อได้ในที่สุด ด้วยโปรแกรมที่ค่อนข้างถี่ ด้วยการลงสนามทั้งสุดสัปดาห์ และกลางสัปดาห์ แบบไม่มีพัก ซึ่งจุดนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันต่างมีมติเห็นชอบให้มีกฎใหม่คือการเปลี่ยนตัวสำรองได้ทั้งหมด 5 คน เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ เนื่องจากผู้เล่นหลายคนี่ลงแข่งกันอย่างต่อเนื่องอาจจะมีอาการล้าได้ง่ายๆ นั่นเอง